ขูดหินปูนสำคัญอย่างไร

บนพื้นผิวหินน้ำลายจะมีคราบจุลินทรีย์ปกคลุม หินน้ำลายที่โผล่พ้นขอบเหงือกจะมองเห็นได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้เหงือกจะมองไม่เห็น หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ที่ติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือกอาจไม่สามารถกำจัดออกได้โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเอง จึงต้องให้ทันตแพทย์ช่วยกำจัดหินปูน ทันตแพทย์จะขูดหินปูนออกทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นจะทำรากฟันให้เรียบ (root planning) เพื่อให้เหงือกยึดแน่นรอบตัวฟันเหมือนเดิม

การขูดหินปูนให้หมดจริงๆ อาจต้องใช้เวลาพอสมควร อาจต้องนัดครั้งละ 30-45 นาที เป็นเวลา 2-4 ครั้ง หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความมากน้อยของหินปูน ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ความแข็งของหินปูน เป็นต้น

หลังจากนั้นประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะประเมินผลดูว่าผู้ป่วยหายจากโรคปริทันต์หรือไม่ โดยดูลักษณะเหงือกว่ากลับสู่สภาพเดิมหรือยัง มีเลือดออกเวลาแปรงฟัน และเมื่อใช้เครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์ว่าตื้นขึ้นหรือเข้าสู่ภาวะปกติ หากยังมีความลึกของร่องลึกปริทันต์อยู่ ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าควรจะทำการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นกับการร่วมมือของผู้ป่วยในการทำความสะอาดด้วย แม้ว่าเหงือกจะกลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว แต่หากผู้ป่วยละเลยไม่ทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นโรคปริทันต์ได้อีก
 
ขอขอบคุณข้อมูลเรื่อง “ขูดหินปูนสำคัญอย่างไร” จาก เด็นทัลบลิส พระรามสาม

ฟันคุด

ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากไม่มีที่พอหรือมีสิ่งที่ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่นั้น สิ่งขัดขวางการขึ้นของฟัน เช่น เหงือกที่หนา  กระดูก ฟันบางซี่ หรือ ทิศทางการขึ้นของปันที่ผิดปกติ

ขอขอบคุณข้อมูลเรื่อง “ฟันคุด” จาก เด็นทัลบลิส พระรามสาม

ช่วงอายุที่มีฟันคุด

ช่วงเวลาเหมาะสมที่ควรเอาฟันคุดออก คือ ช่วงอายุระหว่าง 16 – 25 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่รากของฟันยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระดูกขากรรไกรก็ยังไม่หนา การหายของแผลก็เป็นไปได้อย่างง่าย เป็นผลดีมากกว่าเอาออกเมื่อมีอายุมากกว่านี้

ขอขอบคุณข้อมูลเรื่อง “ช่วงอายุที่มีฟันคุด” จาก เด็นทัลบลิส พระรามสาม

สาเหตุการเกิดฟันคุด

ฟันคุดส่วนใหญ่เกิดขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน

สาเหตุของฟันคุดยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ถ้าขนาดของขากรรไกรเล็ก แต่ขนาดของฟันโต ฟันจึงไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้เกิดเป็นฟันคุด ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุด ถ้าเรามีขนาดของขากรรไกรใหญ่พอที่จะให้ฟันขึ้นได้ ก็จะ ไม่เรียกว่าฟันคุด เพราะว่าถ้าฟันเล็กแล้วขากรรไกรโต ฟันขึ้นได้ทุกซี่ ก็จะไม่มีฟันคุด ก็จะเป็นฟันขึ้นธรรมดาเท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลเรื่อง “สาเหตุการเกิดฟันคุด” จาก เด็นทัลบลิส พระรามสาม